สุดยอดแห่งกีต้าร์โซโล่

สุดยอดกีต้าร์โซโล่ กีต้าร์ไฟฟ้า Fender David Gilmoure

1. Comfortably Numb

ศิลปะแห่งการบรรเลงจาก David Gilmour (เดวิด กิวมอร์)

เพลง Comfortably Numb จากวง Pink Floyd เป็นอีกหนึ่งในเพลงที่มือกีตาร์ทั่วโลกต่างยกย่องให้เป็นเพลงที่มีท่อนโซโล่ของกีตาร์ที่ดีที่สุด

โทนเสียงที่เป็นตำนานจากกีต้าร์ทรง Stratocaster สีดำขลำอันเป็นเอกลักษณ์ของ Gilmour เอง

โดยมีปิ๊กอัพบริดจ์เป็น DiMarzio FS-1 หลอมรวมกับหัวแอมป์ HiWatt DR103 และตู้ลำโพง WEM 4x12

ความนุ่มนวลของเอฟเฟค Big Muff จาก EHX Ram และความหนักหน่วงของปิ๊กอัพ FS-1 ช่วยลดทอนเสียงแหลมของ Strats ให้เบาบางลง

และด้วย MXR Dyna Comp ที่ช่วยให้หางเสียง (Sustain) ของกีตาร์ที่ Gilmour ใช้ยืดยาวไปได้อย่างที่ใจเขาต้องการ

รวมทั้งมหากาพย์แห่งเสียงดีเลย์ได้ถูกผสมผสานเข้ามาจากการปรับแต่งที่ละเอียดอ่อน

โซโล่แรกในคีย์ D Major ได้ใช้ปิ๊กอัพในตำแหน่งคอ (Neck) ผสมกับในตำแหน่งสะพานสาย (Bridge) ด้วยสำเนียงในการเล่นอาร์เพจ'จีโอ (Arpeggios) ที่แหวกแนว รวมทั้งการใช้เทคนิคไวบราโต้ (Vibrato) ในการเล่นคันโยกกีตาร์ของ Gilmour เอง

สิ่งเหล่านี้ช้วยให้บทเพลงของเขาแตกต่างจากเพลงบลูส์ (blues) ทั่วไป ทุกวลีที่ Gilmour ถ่ายทอดออกมาสรรค์สร้างความตื่นตาตื่นใจดั่งถูกกลั่นกรองมาอย่างละเอียดอ่อนแล้วในทุกๆ ตัวโน๊ต

และในช่วง Outro Solo นั้น Gilmour ยิ่งทำให้คนฟังตื่นตะลึงยิ่งขึ้นมากกว่าเดิม

อาจจะมีบางวลีที่ผู้ฟังบางคนอาจจะนึกถึงเฮนดริก (Hendrix) ในช่วงนาทีที่ 4:57 และ 5:12 ซึ่งมีกลิ่นอายคล้ายๆ กับกับเพลง "All Along the Watchtower" หรือ "Foxey Lady"

แต่ท่อนโซโล่ในแทร็กมหากาพย์นี้ได้กลายมาเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักกีตาร์รุ่นหลังอย่างมากมาย

Gilmour ได้อธิบายว่าเขาสร้างสรรค์ท่อนโซโล่ของเพลงนี้ด้วยการบันทึกห้าหรือหกเทคและรวบรวมโซโล่จากส่วนที่ดีที่สุดของแต่ละเทค ผลลัพธ์ที่ได้นั้นได้ถูกถ่ายทอดออกมาอย่างสวยงามและน่าทึ่ง ด้วยการผสมผสานกันระหว่างความซ้ำซากจำเจและการพัฒนาการที่คงไว้ซี่งความตื่นเต้น

ซึ่งการโซโล่ที่ดีอาจเกิดจากสำเนียง, จังหวะจะโคน, ท่วงทำนอง และเอกลักษณ์ในการเล่นของตัวศิลปินเอง

และมีเพียงไม่กี่เพลงเท่านั้น ที่จะมีคุณลักษณะทั้งหมดนี้หลอมรวมอยู่ด้วยกัน เหมือนกับบทเพลงๆ นี้

สุดยอดกีต้าร์โซโล่ กีต้าร์ไฟฟ้า Gibson Gary Moore

2. Still Got the Blues - Gary Moore (แกรี มัวร์)

เพลงบัลลาดบลูส์ ที่เด็ดขาด ชัดเจน

เพลง Still Got the Blues จากอัลบั้ม Still Got the Blues (1990) ของมือกีต้าร์ผู้ทรงอิทธิพลผู้นี้ ส่งผลให้เขากลับมาสู่เส้นทางในฐานะศิลปินบลูส์อีกครั้ง ซึ่งก่อนหน้านี้ในช่วงปี 1980 มัวร์ได้ปลี่ยนไปเล่นกีต้าร์ในแนวเพลงฮาร์ดร็อคและเฮฟวีเมทัล

โดยบทเพลงนี้อยู่ในคีย์ A minor และธีมหลักของเพลง ยังคงใช้ Pentatonic A โดยใช้บางโน๊ตจากสเกล Minor Aeolian และ Harmonic minor

เพลงๆ นี้ได้ถูกบรรเลงออกมาจากปิ๊กอัพฮัมบัคเกอร์ (Humbucker) ในตำแหน่งคอ (Neck) จากกีตาร์ Gibson Les Paul Standard 1959 ที่เขาตั้งสมยานามว่า "Stripe"

โดยควบคู่กันไปกับเสียงแอมป์จาก Marshall JTM-45 ร่วมกับเอฟเฟคดิสทอร์ชั่น (Distortion)

ที่ออกแบบขึ้นมาใหม่จาก Marshall ในยุคนั้นอย่าง Guv’nor

มัวร์ได้ดึงดูดศักยภาพทั้งจากตัวตนและตัวกีตาร์ออกมาได้อย่างเต็มความสามารถ เพื่อที่จะผลิตผลงานที่สมบูรณ์แบบและเป็นมาสเตอร์พีซออกมา

ผ่านมากว่า 30 ปี เพลง Still Got the Blues ก็ยังคงเป็นเพลงบลูส์ที่ดิบเถื่อน ที่ทั้งสื่อและเร้าอารมณ์ได้มากที่สุดเพลงหนึ่ง

สุดยอดกีต้าร์โซโล่ กีต้าร์ไฟฟ้า Fender Eric Clapton

3. Crossroads - Cream

เพลงร็อคแอนด์โรล ที่คัฟเวอร์จากเพลงอคูสติกบลูส์ ที่ดีที่สุด

เริ่มต้นจากเพลงบลูส์ที่ชื่อว่า "Cross Road Blues" บทเพลงในตำนานของ Robert Johnson

จากการแสดงของมือกีตาร์อายุเพียง 22 ปี ที่มีชื่อว่า Eric Clapton

ได้เลือกเพลงนี้ขึ้นเล่นบนเวทีเป็นเพลงแรก เพราะ Johnson เป็นต้นแบบและแรงบันดาลใจของเขา

ทั้งแนวทางดนตรีและทักษะการเล่นกีตาร์ ก็ได้อิทธิพลมาจากตำนานเพลงบลูส์คนนี้

การสรรค์สร้างและต่อยอดจากแนวคิดเดิมของเขา เกิดเป็นเพลง "Crossroads" ในอัลบั้ม Cream's Wheels of Fire

ซึ่งบันทึกเสียงที่ Fillmore West ใน San francisco

ในการเรียบเรียงเพลงของ Clapton ยังคงรักษาจิตวิญญาณของต้นฉบับจาก Johnson ไว้ได้อย่างครบถ้วน

จนทำให้เพลงที่ความยาว 4 นาที นี้ก็ยังคงตรึงตาตรึงใจของผู้ฟัง มาเป็นเวลากว่า 50 ปี

Clapton บอกว่า การร้องเพลงบลูส์ที่เข้าถึงห้วงอารมณ์เศร้าได้ดีนั้น

เขาก็จะนึกถึงสิ่งที่เคยเกิดขึ้นในชีวิต สิ่งที่เสียใจ เพื่อถ่ายทอดอารมณ์นั้นออกมา

แต่ในชีวิตของเขา ค้นพบอะไรมากมาย แต่ถ้าเจอสิ่งที่ชอบทำ

แล้วไม่ได้ทำ มันก็คือความเศร้าอย่างหนึ่งในชีวิตเลยล่ะ
กีต้าร์ไฟฟ้า Fender Eric Johnson Virginia Stratocaster Cliff of Dover

4. Cliffs Of Dover - Eric Johnson

เสียงสวรรค์จากเทพบุตรแห่งเท็กซัส

ผู้ที่คว้ารางวัลแกรมมี่ (Grammy) มามากมายอย่าง Eric Johnson

กับการเล่นกีตาร์ของเขาที่มีทั้งรสนิยมและโทนเสียงที่ชวนให้อ้าปากค้าง

เริ่มต้นจากในปี 1986 อีริคได้ออกอัลบั้มแรกของเขาออกมาใช้ชื่อว่า “Tones”

ซึ่งสร้างชื่อเสียงได้พอสมควร และได้ตอกย้ำความยอดเยี่ยมในปี 1990

ด้วยสุดยอดอัลบัมที่ชื่อ “Ah Via Musicom” ในเพลง “Cliffs of Dover”

ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศสาขา Best Rock Instrumental จากแกรมมี่ และรางวัลอื่นๆ อีกมากมาย

ตัว Johnson เลือกใช้กีตาร์ Fender 1954 Stratocaster ตัวโปรด

ซึ่งเขาตั้งชื่อว่า “Virginia” กับตู้แอมป์ Marshall Super Lead ขนาด 100 วัตต์

ร่วมกับเอฟเฟคดีเลย์ (Delay) Echoplex และโอเวอร์ไดร์ฟ (Overdrive) BK Butler Tube Driver

เพื่อช่วยให้ได้โทนเสียงที่นุ่มนวลและอบอุ่น ราวกับไวโอลินอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเขา

“ฉันได้ยินเขาครั้งแรกในปี 1986 ในรายการ Live at Austin City Limits” Joe Bonamassa เคยให้สัมภาษณ์ไว้ในปี 2015

มันคือเพลง 'Cliffs of Dover' ” และมันเป็นการเล่นกีตาร์ที่ดีอย่างน่าเหลือเชื่อ

ฉันไม่แน่ใจด้วยซ้ำว่ามันเป็นเรื่องจริงหรือไม่!

และน้ำเสียงของเขาก็ไพเราะที่สุดเท่าที่ฉันเคยได้ยินมา

ฉันสงสัยว่าผู้ชายคนนี้ได้สร้างเสียงเหล่านี้ทั้งหมดจาก Strat ของเขาได้อย่างไร
กีต้าร์ไฟฟ้า EVH Eddie Van Halen

5. Eruption - Van Halen

Tapping เขย่าโลก

กีตาร์โซโล่ของ Eddie Van Halen ได้สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับมือกีตาร์ทีแขนงและแนวเพลง

กับการผสมผสานเอาเทคนิค เลกาโต้ (Legato), แฮมเมอร์ ออน (Hammer-On), พูลออฟ (Pull-Off), วาร์มมี่ บาร์ (Whammy-Bar) และการแทปปิ้ง (Tapping) ที่รวดเร็วเข้าไว้ดวยกัน

โดยเทคนิคการจิ้มกีตาร์หรือ Tapping นั้น Eddie ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการเล่นกีตาร์สไตล์ฟลาเมนโก และดนตรีคลาสสิค รวมไปถึงบทเรียนจากการเรียนเปียโนในวัยเด็กของเขา

Eddie ได้ให้สัมภาษณ์กับ Guitar World ว่า ที่มาของเพลงEruption เกิดขึ้นโดยบังเอิญ ในช่วงที่ Van Halen กำลังเตรียมตัวอัดอัลบั้มแรกกันอยู่

Eddie ได้เข้ามาที่สตูดิโอ เพื่อฝึกซ้อมกีตาร์ เพราะมีคิวขึ้นแสดงในช่วงสุดสัปดาห์

ขณะที่เขากำลังซ้อมกีตาร์กันอยู่ Ted Templeman โปรดิวเซอร์ของวงก็มาได้ยินการเล่นของ Eddie พอดี

Ted จึงเข้ามาบอกว่า " เพลงอะไรน่ะ! เอาเพลงนั้นใส่ไปในอัลบั้มเถอะ"

เขาอัดโซโล่เพลงนี้ 2-3 รอบในสตูดิโอ แล้วก็เลือกรอบที่ดีที่สุดใส่ลงอัลบั้ม Van Halen

แม้โปรดิวเซอร์และทุกคนจะพอใจกับผลงานที่ออกมา แต่เขาบอกว่า "ผมเล่นมันได้ไม่ดีด้วยซ้ำ

มันมีจุดที่ผิดพลาดหลายจุด ตั้งแต่ต้น ยันจบเพลง"

ทุกครั้งที่เขาได้ยินเพลงนี้ เขาจะคิดว่า "ผมสามารถเล่นมันได้ดีกว่านี้"

ถึงอย่างไรก็ตาม แม้เพลงนี้จะเกิดขึ้นโดยบังเอิญ

แต่ท่อนโซโล่ในเพลง ‘Eruption’ จากผลงานจากปี 1978 นี้ ก็ได้รับการเสียงตอบรับที่ดีมากในยุคนั้น

ถึงขั้นที่บอกกันว่า มันคือเพลงที่พลิกโฉมการโซโลกีตาร์ร็อคไปตลอดกาล

ทั้งนี้ยังได้รับการยกย่องให้เป็นอันดับที่ 2 ของ ‘100 ท่อนโซโล่ที่ยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาลจากนิตยสาร Guitar World อีกด้วย